Funny game for your mobile

สัตว์ที่แข็งแกร่งที่สุดมักจะเป็นตัวแทนของชาติที่เข้มแข็ง

        ในสมัยก่อนสัตว์ที่แข็งแกร่งมักจะถูกโยงเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์หรือผู้ปกครองประเทศ ต่อมาก็ได้นำมาใช้เป็นตราประทับหรือใช้กับธง เวลากองทัพกษัตริย์มาเยือน ในประเทศมหาอำนาจตั้งแต่ยุคโรมันก็มักจะนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของราชาและใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน คลิปนี้แอดจะนำที่มาของสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของแต่ละประเทศมาเล่าให้ฟังว่ามีประเทศไหนบ้าง

 อเมริกา(อินทรี)

        คิดว่าอินทรีเป็นหนึ่งในสัตว์ที่เท่และแข็งแรงที่สุดสายพันธ์ุหนึ่งในพวกนก และนกอินทรีที่เป็นสัญลักษณ์ของอเมริกาก็คืออินทรีหัวขาว หรือ อินทรีหัวล้าน  (Bald Eagle) ในหลายประเทศชอบที่จะเอาสัตว์ที่เข้มแข็งมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของผู้ปกครองประเทศ ถ้าเป็นอเมริกาก็จะเป็นตราประธานาธิปดีหรือตราประจำหน่วยรัฐ 

        อินทรีนั้นถือเป็นนัมเบอร์วันในทุกด้าน ทั้งด้านความเร็วในการบิน ความแข็งแรง แถมยังดูสง่า ยุคก่อนที่อเมริกาจะเข้ามาชาวอินเดียนแดงก็ชอบล่านกอินทรีแล้วนำมาทำเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจ หรือในหนังทาร์ซาน เมื่อทาร์ซานเอาชนะเสือได้ก็เอามาทำกางเกงใน หรือนักล่าที่ชอบเก็บสะสมงาหรือเขาแรดได้เมื่อพิชิตพวกสัตว์ที่แข็งแกร่งพวกนี้ได้ เมื่อปี 1940 อินทรีถูกล่ามากจากพวกอินเดียนแดงจนเมื่อสหรัฐเข้ามาก็ได้มีกฎหมายคุ้มครอง



        ที่มาที่อินทรีถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์มีที่มาด้งนี้ การนำอินทรีมาเป็นตราสัญลักษณ์นั้นได้ถูกนำมาเสนอต่อสภาคอนเกรสเมื่อปี 1782 หลังจากนั้นมาตรานกอินทรีก็ได้ถุกนำมาใช้เป็นตรามหาลัญจกร หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า  great seal of the United state   โดยตรานี้ใช้เป็นตราแผ่นดิน ตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานรัฐ โดยนกอินทรียังถือลูกศร และช่อมะกอกซึ่งบ่งบอกอิสระเสรีภาพ โดยถือตามความเชื่อของชาวโรมันที่เชื่อว่า อินทรีเป็นสัญลักษณ์ของ การมีอายุยืนยาว ความแข็งแกร่งและความสง่างาม 




รัสเซีย (หมีขาว)

    หมีเป็นสัตว์ที่ได้รับความเคารพอย่างสูงในหมู่ชาวสลาฟโบราณที่เป็นบรรพบุรุษของชาวรัสเซีย หมีมีความผูกพันกับความเชื่อและศาสนาของชาวสลาฟก่อนหน้าที่พวกเขาจะเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ ในสมัยก่อนเวลาหมีจำศีล พวกมันก็จะไปนอนอยู่แต่ในถ้ำ ในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูใบไม้ผลิ ชาวสลาฟก็จะจัดงานเฉลิมฉลองในโอกาสที่หมีออกจากการจำศีล เพราะเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นฤดูกาลใหม่
        หมีถูกกลายเป็นภาพจำของความดุร้ายและป่าเถื่อนเป็นภาพจำของขาวยุโรปที่มีต่อชาวรัสเซีย สมัยนั้นผู้คนไม่ค่อยจะรู้จักรัสเซียมากนัก รู้แค่ว่า รัสเซียเป็นดินแดนที่ห่างไกล ล้าหลัง และป่าเถื่อน แต่ความเป็นจริงหมีไม่ใช่สัญลักษณ์ของรัสเซีย หากแต่เป็นอินทรีสองหัวต่างหาก แต่เมื่อพูดถึงรัสเซียทีไร พูดถึงแต่หมีขาว  
        การที่หมีถูกกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของรัสเซียมาจากการที่คนยุรปตะวันตกมองว่ารัสเซียเป็นดินแดนที่ป่าเถื่อนและโหดร้าย ร่ำลือกันว่าเวลาพวกเขาเวลาสังหารนักโทษก็จะนำหมีออกมาและ กษัตริย์ก็เฝ้าชมการตัดสินประหารอย่างเลือดเย็น ทั้งเอาหมีไปสังหารคน หรือไม่ก็ผูกกับไว้คนแล้วปล่อยให้ฝูงหมามาล่าฉีกเนื้อนักโทษ และคนยุโรปมักจะนำหมีมาล้อในการ์ตูนล้อเลียนในช่วงสงครามเย็น เป็นการล้อเลียนถึงความกระหายเลือดของสหภาพโซเวียตรัสเซีย

         พอถึงปลายศตวรรษที่ 18 หมีกับรัสเซียก็ยิ่งเป็นภาพจำมากยิ่งขึ้น จากการ์ตูนล้อการเมือง ในปี 1791 ได้มีการ์ตูนล้อการเมืองที่มีชื่อว่า 'The Russian Bear and Her Invincible Rider Encountering the British Legion' (หมีรัสเซียและคนขี่ม้าผู้ไร้เทียมทานของพระนาง เผชิญหน้ากับกองทัพอังกฤษ) ที่วาดโดยศิลปินชาวอังกฤษ

          หมียังคงเอามาใช้เป็นสัญลักษณ์ล้อเลียนรัสเซียอยู่เรื่อยมา เมื่อมีการ์ตูนที่เขียนเพื่อเป็นการล้อเลียนจักรพรรดินีแคทเธอรีนมหาราชแห่งรัสเซีย โดยพระนางมีรูปร่างเป็นหมี กำลังเผชิญหน้ากับพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งอังกฤษและขุนนางของพระองค์ การ์ตูนนี้ถือเป็นการนำหมีมาใช้เป็นภาพลักษณ์ของรัสเซียเป็นครั้งแรก 

        เมื่อผู้คนเอาแต่คิดว่าหมีคือสัญลักษณ์ของรัสเซีย จนทางรสเซียเองอาจจะเหนื่อยใจเลยไปแก้ความรู้สึกที่คนมองว่าคนรัสเซียโหดร้ายป่าเถื่อน  ในกีฬาโอลิมปิกปี 1980 ที่กรุงมอสโกเป็นเจ้าภาพ เจ้าหมีน้อยแสนน่ารักที่ชื่อ 'มีชา' (Misha) ก็ได้ถูกเลือกให้เป็นมาสคอตประจำกีฬาโอลิมปิกครั้งนั้น เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ว่า หมีไม่ได้เป็นสัตว์ดุร้ายแบบที่เข้าใจกัน

        พอสหภาพโซเวียตล่มสลายลง หมีก็เกือบถูกเลือกให้เป็นตราแผ่นดินใหม่ของรัสเซียแทนที่นกอินทรีสองหัว ซึ่งเป็นตราแผ่นดินของรัสเซียในปัจจุบัน นอกจากนี้พรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซียในปัจจุบันอย่างพรรค United Russia ของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ก็มีโลโก้ประจำพรรคเป็นรูปหมีเช่นกัน จนถึงตอนนี้ก็มีคนนำภาพ ปูตินขี่หมีเอามาล้อเลียนกันสนุกสนานในโลกโซเชียล



อังกฤษ(สิงโตสามตัว)

        หลายคนคงเคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่าทำไม? อังกฤษถึงต้องมีสิงโตเป็นสัญลักษณ์ ตัวเดียวก็ไม่ได้ต้องมี 3 ตัว โดยส่วนใหญ่ประเทศมักจะชูสัตว์ท้องถิ่นที่โดดเด่นมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ แต่ยกเว้นอังกฤษ ในปัจจุบันอังกฤษไม่มีสิงโต แม้ในอดีตยังมีอยู่แต่ก็ได้สูญพันธ์ไปนานกว่า 40000 ปีแล้ว คนอังกฤษน่าจะไม่รู้จักสิงโตด้วยซ้ำ ถ้าไม่ได้ไปดูที่สวนสัตว์ หรือมีคณะละครสัตว์มาเร่โชว์ให้ดู

        กำเนิดตราสัญลักษณ์นี้มีที่มาจากกษัตริย์อังกฤษ นำสิงโตมาเป็นสัญลักษณ์ประจำตัว และก่อนหน้านั้นมันมีตัวเดียว โดยคนที่เริ่มใช้สิงโตเป็นสัญลักษณ์ของตัวเองคือพระเจ้าเฮนรี่ที่ 1 (มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1068-1135) โดยในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 1 มีการแต่งงานกับราชินีเอเดลิซ่าซึ่งมีตราประจำตระกูลเป็นสิงโตเหมือนกัน ตราประจำพระเจ้าเฮนรี่ที่ 1 ก็เลยเปลี่ยนจากสิงโตตัวเดียวเป็นสองตัว
    จุดเปลี่ยนของตราสิงโตตัวที่สามนี้ เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่2 (1133-1189) ได้ทำการอภิเษกสมรส กับพระราชินีอีเลียนอร์ ซึ่งมีตราประจำตระกูลเป็นสิงโตเหมือนกัน ก็เลยมีการเปลี่ยนตราประจำตัวของกษัตริย์เป็นสิงโตสามตัว สรุปง่ายๆก็คือ สิงโตแทนพระเจ้าเฮนรีทั้ง 2 พระองค์และพระราชินีอีก 1 นั่นเอง
        อย่างไรก็ดี สิงโตนั้นมักจะนำมาใช้แทนความกล้าหาญ ความเข้มแข็งมาตลอด ในยุคนั้นสิงโตแทนความเป็นกษัตริย์ ยังไม่ถูกนำมาใช้แพร่หลายเท่าไหร่ ครั้งหนึ่งสิงโตเคยถูกนำมายกย่องกษัตริย์อังกฤษที่มีความสามารถในการรบและมีความเข้มแข็งนั่นก็คือ พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 ผู้มีฉายาว่า “ริชาร์ดใจสิงห์” (Richard The Lionheart)
        ในสมัยศตวรรษที่ 17 อังกฤษมีการรวมชาติกับสก็อตแลนด์ แต่หลังจากนั้นสถาบันกษัตริย์ก็อ่อนแอลงไปมากจากการช่วง“ปฏิวัติอังกฤษ” สัญลักษณ์สิงโตก็ค่อยๆเสื่อมถอยลงไป เป็นเรื่องบังเอิญที่ สก็อตแลนด์เองก็มีตราสัญลักษณ์สิงโตแทนกษัตริย์เหมือนกันแต่เป็นสิงโตดุสีแดงตัดกับธงเหลือง โดยธงนี้ถูกใช้เป็นธงประจำพระองค์แห่งสกอตแลนด์ ไม่อนุญาติให้ประชาชนนำเอาไปใช้ ธงสัญลักษณ์นี้ก็เหมือนตราประจำพระองค์ อนุญาติให้ใช้กับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น


ออสเตรเลีย(จิงโจ้ และอีมู) 

        จิงโจ้นั้นเป็นสัตว์ที่เห็นจะมีแต่ที่ออสเตรเลียเท่านั้น ส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงออสเตรเลียก็มักจะนึกถึงจิงโจ้ นอกจากความเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้แต่ในออสเตรเลียผุู้คนยังเชื่อว่าทั้งจิงโจ้และนกอีมูเป็นสัตว์แห่งความเจริญก้าวหน้า เพราะทั้งสองตัวนี้ไม่สามารถกระโดดถอยหลังได้ ซึ่งหาได้น้อยมากๆบนโลก 

        ส่วนอีมูผู้คนพูดถึงน้อยกว่า และไม่ค่อยสร้างปัญหาให้คนในท้องถิ่นเหมือนจิงโจ้อีกด้วยหากแต่คนที่ไปรุกรานถิ่นที่อยู่ของมัน และต้องล่าเพื่อต้องการลงหลักปักฐาน แต่ความที่มันเป็นศัตรูกับคนในท้องถิ่นเพราะมันกินน้ำเก่ง หลายพื้นที่ของออสเตรเลียสมัยก่อนยังคงแห้งแล้ง และขาดแคลนน้ำ จึงเกิดศึกแย่งน้ำกับนกอีมู ขนาดที่ว่าส่งกองทัพและหน่วยรบไปล่ามัน แบกกระสุนไปกว่า สองพันนัดเพื่อไปสังหารนกอีมู แต่อีมูนั้นอึดมาก แม้จะถูกยิงก็ยังไม่ตาย คนก็เลยยกย่องถึงความกล้าหาญอดทนเป็นนักสู้  เมื่อสู้รบกับศัตรูที่สู้ด้วยยากก็สรรเสริญ เอามาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศซะเลย จะได้สอนคนรุ่นหลังด้วยว่าครั้งก่อนในอดีต ออสเตรเลียเคยทำสงครามกับนกอีมู


จีน(แพนด้า)

        สำหรับแพนด้าแล้ว เราไม่เคยเห็นความดุร้ายและความแข็งแกร่งแต่อย่างใด ถึงจะอยู่ในวงศ์ของหมีแต่แตกต่างกับหมีทั่วๆไปอย่างสิ้นเชิง ชาวจีนเรียกแพนด้าว่า ฉงเม่า พวกมันกินใบไผ่ โดยไผ่ก็เป็นพืชที่ให้พลังงานกิโลแคลเลอรี่ต่ำมาก ทำให้แพนด้ายักษ์ใช้เวลากินไผ่นานถึงวันละ 16 ชั่วโมง ในปริมาณไม่ต่ำกว่า 18 กิโลกรัม และขับถ่ายมากถึงวันละ 40 ครั้ง วันๆจึงไม่เห็นพวกมันทำอะไรเลย นอกจากกินไผ่ แพนด้าตามป่าที่กินแต่ไผ่ก็ไม่สามารถจำศีลได้ในช่วงฤดูหนาว   เนื่องจากไผ่ให้พลังงานสะสมไม่เพียงพอ พวกมันเป็นสัตว์อินดี้ชอบปีนขึ้นที่สูงทั้งๆที่ตัวหนัก และค่อนข้างเชื่องช้า ไม่เหมือนบุคลิกคนจีนเลย แต่ความพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้เองทำให้เป็นที่ต้องการ และแพนด้าเคยเป็น "ทูตสันถวไมตรี" ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 จีนส่งหมีแพนด้าไปยังสวนสัตว์สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น  โดยการให้ยืม ซึ่งเป็นเครื่องหมายการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและชาติตะวันตก แต่ในปัจจุบัน จีนเปลี่ยนเป็นให้ยืมเป็นเวลา 10 ปี โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมพื้นฐานปีละ 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ และมีข้อกำหนดว่าลูกของแพนด้ายักษ์ใด ๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของสาธารณรัฐประชาชนจีน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้