Funny game for your mobile

ทำไมตุ๊กตาดารุมะไม่มีลูกตา

         มีใครรู้จักเจ้าตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นบ้าง สำหรับคนที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นช่วงปีใหม่และชอบไปวัดน่าจะเคยเห็นเจ้าตุ๊กตานี้วางอยู่เต็มแผงร้านงานเทศกาล หรือคนที่ไม่เคยไปญี่ปุ่นเลยแต่ดูการ์ตูนก็ยังรู้จักเจ้าตัวนี้ จากการ์ตูนเรื่อง spited away , Onmyoji หรือจากหนังเรื่อง God Will ที่เอาดารุมะมาทำเป็นตุ๊กตานำโชคสายโหด แล้วสาย Art toy เองพักนี้ก็มีเอามาทำเหมือนกัน คือทางญี่ปุ่นเขาเก่งเรื่องดัดแปลงของทุกอย่างให้กลายเป็นของเล่น หรือขนมได้หมดทุกอย่าง ก็ไม่แปลกถ้าจะเอาดารุมะมา collapse กับตัวการ์ตูน โดยส่วนใหญ่เรามักไม่ค่อยเห็นคนสะสมดารุมะตรงๆ เพราะว่ามันคือ ตัวส่งผ่านทางวิญญาณ ถ้าเปรียบง่ายๆคือมีไว้เผาแบบแบงค์กงเต็ก เรามารู้จักตุ๊กตาดารุมะกันให้มากขึ้น ว่าทำไม ตุ๊กตาดารุมะที่เราเห็นในวัดจึงไม่มีดวงตา



รู้จักดารุมะให้มากขึ้น

        โดยดารุมะ เป็นตุ๊กตาล้มลุกของชาวญี่ปุ่นที่ทำจากกระดาษวาชิ หรือกระดาษญี่ปุ่นคล้ายๆกระดาษสาบ้านเรา แต่หนากว่า ข้างในดารุมะจะกลวง เบาแต่ตรงก้นจะหนัก ว่ากันว่า ดารุมะมาจาก  ดารุมะ ไดชิ ซึ่งเป็นพระภิกษุอินเดียในพุทธศตวรรษที่ 5-6 ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ก่อตั้งพุทธศาสนานิกายเซน และการทำสมาธิแบบนั่งที่เรียกว่าซาเซ็น (Zazen) ผู้เพียรบำเพ็ญธรรมมายาวนาน 9 ปี จนแขนขาตัวเองลีบขยับตัวไม่ได้ และยังสูญเสียเปลือกตาจนทำให้ดวงตาเบิกโพลงตลอดเวลา



        ต่อมาได้มีชาวนาในเมืองทาคาซากิ (Takasaki) จังหวัดกุมมะ (Gunma) ได้ทำรูปปั้นขึ้นเพื่อเป็นเครื่องรางขอพร โดยเชื่อว่าตุ๊กตาจะนำมาซึ่งผลผลิตที่ดี หลังจากนั้น วัฒนธรรมความเชื่อเรื่องตุ๊กตาดารุมะขอพรเพื่อความโชคดี ก็ได้แผ่ขยายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้นการบูชาเพื่อให้โชคแล้ว ยังบูชาเพื่อขับไล่ภูติผี ปิศาจด้วยโดยเริ่มแรกตุ๊กตาดารุมะจะมีลักษณะจำลองตามตำนานพระโพธิธรรม โดยมีจีวรสีแดง มีหนวดเครา ต่อมาจึงเป็นตุ๊กตาทรงอ้วนกลมซึ่งสือถึงร่างที่ไร้แขนขาของโพธิธรรมตามตำนาน แต่ก็มีความหมายแฝงไว้มากกว่านั้น เพราะเป็นลักษณะของตุ๊กตาล้มลุก ซึ่งเป็นเครื่องเตือนใจถึงความเพียร ไม่ว่าเราจะล้มลงกี่ครั้ง ก็ควรลุกขึ้นใหม่ได้เสมอ จากสุภาษิตยอดนิยมของญี่ปุ่นที่ว่า "ล้มเจ็ดครั้ง ลุกขึ้นแปดครั้ง" ซึ่งคำๆนี้เป็นที่นิยมสำหรับหมู่ชาวเกษตรกรผู้นับถือดารุมะกันมาก

        ดารุมะยังมีความหมายที่ลึกซึ้งในตัวอยู่มากมาย เรียกว่าการออกแบบทุกสัดส่วนของดารุมะแฝงความหมายอันลึกซึ้งและพิเศษจริงๆ ถ้าใครรู้จักสัตว์มงคลญี่ปุ่นก็อาจจะเรียกได้ว่า ดารุมะขนสิ่งมงคลมาจัดเต็มในหน้าตาดารุมะแทบทั้งทุกส่วนไม่ว่าจะเป็น คิ้ววาดเป็นรูปนกกระเรียน ส่วนเคราวาดให้ดูคล้ายเต่า  สัตว์ทั้งสองชนิดนี้เป็นสัตว์มงคลสื่อแทนการมีอายุยืนยาว ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมาจากสุภาษิตญี่ปุ่นที่ว่า “นกกระเรียนอายุ 1,000 ปี เต่าอายุ 10,000 ปี” ส่วนที่ท้องก็เป็นคำมงคลอีกเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเขียนว่า "โชค" หรือ"ความพากเพียร" คล้ายๆกับคำยอดฮิตที่คนญี่ปุ่นส่วนมากเวลาให้กำลังใจเพื่อนเขาก็จะชอบพูด  がんばる และ がんばります กันบาเระ กันบาเระมัส แปลว่าสู้ๆนะ ก็น่าจะมีคนที่ชอบตัวที่เขียนว่า สู้ๆ อยู่ไม่น้อยนะ ถือว่าเป็นการให้กำลังใจตัวเองให้ทำอะไรสมปรารถนา ตลอดช่วงปีใหม่

ดารุมะตุ๊กตาขอพร
         ที่สำคัญคือที่ถือเป็นจุดเด่นอีกอย่างก็คือ ตุ๊กตาดารุมะ ไม่มีดวงตา โดยตัวที่วางขายที่ร้านจะปล่อยตาขาวเว้นว่างไว้ เพื่อให้เราเขียนคำขอพร นั่นเอง บางที่เขาจะมีการเขียนคำขอพรลงไปเลย บางที่ก็เป็นวงกลมตาเอาเองแล้วอธิษฐานคำขอของเราลงไป

โดยสิ่งที่ผู้คนมักจะเขียนลงไปเป็นอักษรนำโชคทั้งสิ้นอย่างเช่น


幸 (shiawase): ความสุข พร

叶 (kanau): ความปรารถนาที่เป็นจริงหรือขอให้ปรารถนาเป็นจริง

福 (fuku): โชคดี โชคลาภ พร

ส่วนใครที่เลือกซื้อดารุมะอาจะเห็นสีอื่นๆด้วย แต่ละสียังมีความหมายลึกซึ้งนอกจากสีแดงซึ่งเป็นสีดั้งเดิมของเค้าก็จะมีสีอื่นอย่างเช่น 


สีแดง หมายถึง โชค สิ่งมงคลการขจัดสิ่งชั่วร้ายหรือภูติผี
สีม่วง หมายถึง ชีวิตที่ยืนยาว

สีขาว (หมายถึงตัวแทนแห่งการศึกษา เล่าเรียน)
สีน้ำเงิน: ความสำเร็จในหน้าที่การทำงาน การสมัครงาน
สีเหลือง หมายถึง ชื่อเสียงและเงินทอง บางทีก็มีการทาสีทองไปเลย
สีชมพู: ความรัก มิตรภาพ การแต่งงาน
สีเขียว หมายถึง สุขภาพ เป็นต้น
ซึ่งบางทีอาจจะมีคนใช้สีอื่นมากกว่านี้ แล้วคุณผู้ชมล่ะชอบสีไหนมากที่สุด



        จากที่ได้บอกไปแล้วว่าตาขาวมีไว้เขียนคำขอพรนั่นเอง เหมือนกระดาษทองขอพรบ้านเรา เมื่อเขียนแล้วก็จะนำไปเผาในที่สุด แล้วธรรมเนียมญี่ปุ่นเขาจะมีอะไรที่ละเอียดอ่อนอย่างการลงสีดวงตาเขาจะลงสีตาซ้ายก่อน แล้วค่อยไปลงสีตาขวา ประเพณีดั้งเดิมเขาจะเก็บดารุมะนี้ไว้กับบ้านก่อนพอหลังจากทำการอธิษฐานแล้วครบปีจึงจะนำไปเผาที่วัดหรือที่ศาลเจ้า หรือตามงานเทศกาลที่จัดขึ้นแต่ไม่ให้เอาไปทิ้งขยะนะ นี่ก็ใกล้ปีใหม่แล้วคาดว่าคนไปเที่ยวญี่ปุ่นช่วงปีใหม่นี้จะเห็นคนแห่ไปตามวัดเพื่อไปขอพรและเห็นงานเผาดารุมะกันมากขึ้น แล้วช่วงคริสตมาสก็ซื้อไก่ เคเอฟซี แต่งานวัดเค้าสงบและเรียบร้อยไม่เอะอะ จุดปะทัดเปรี้ยงป้างเหมือนงานบูชาไอ้ไข่หรืองานวัดจีนแน่นอน บรรยากาศค่อนข้างจริงจังตามสไตล์คนญี่ปุ่น จากในคลิปของประเพณีที่โตเกียว เราจะเห็นคนแต่งตัวเป็นเท็นงูด้วยนะ ว่ากันว่าเท็นงูเป็นร่างทรงของเทพเจ้าและสิงโต เป็นผู้ขับไล่วิญญาณชั่วร้าย โดยเท็นงูก็จะเป็นผู้ทำหน้าที่ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย มีการสวดประสาน โดยสถานที่ๆมีการผลิต ดารุมะมากที่สุดก็คือที่ กุนมะ เมือง ทาคาซากิ อันเป็นเมืองที่ว่ากันว่าเป็นเมืองแรกที่ให้กำเนิดตุ๊กตาดารุมะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้