Funny game for your mobile

ทำไมคนญี่ปุ่นกินไก่ KFC ในวันคริสมาส

         ก็อาจบอกได้ว่าใครๆก็กิน KFC ในวันคริสมาสได้ ร้านก็ไม่เคยปิดสักหน่อย แต่ที่ญี่ปุ่นเขาแตกต่างน่ะ เพราะทุกเดือนธันวาคม ชาวคริสต์เขาจะเฝ้ารอคอยที่จะกินไก่งวงตัวเบื้อเริ่มในช่วงเทศกาลคริสมาส แต่ญี่ปุ่นเขาไปซื้อไก่ KFC แทนที่จะซื้อไก่งวงมากิน ถึงมันจะเป็นไก่เหมือนกันก็เถอะ แต่ที่นี่ธรรมเนียมฉลองคริสมาสไม่เหมือนใครเลย แอดก็เลยเอาเรื่องนี้มาฝากทุกคน มาฟังเรื่องราวที่มาของการกินไก่ ผู้พันแซนเดอร์ส  KFC ที่กินกันทั่วบ้านทั่วเมืองและชมบรรยากาศร้านไก่ช่วงคริสตมาสญี่ปุ่นเขาเป็นอย่างไรกันนะมาดูกันเลย



        ตั้งแต่ยุค 80 มาแล้ว นับจากวันนั้นมาถึงวันนี้แทบจะกลายเป็นภาพปกติไปแล้ว ที่เมื่อถึงเวลาช่วงคริสต์มาส ร้านทั่วญี่ปุ่นเขาก็จะจัดอีเวนท์ ตกแต่งบรรยากาศในร้านด้วยบรรยากาศเฉลิมฉลองคริสมาส เริ่มจัดกันประมาณวันที่ 23 ช่วงนี้จะเริ่มเห็นคนมาต่อคิวเพื่อที่จะซื้อถังไก่กลับบ้านไป อันที่จริงญี่ปุ่นเองก็ไม่เชิงเป็นประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์กันทั่วบ้านทั่วเมือง เรื่องชอบจัดงานทุกอีเวนท์เขาเหมือนบ้านเราเลย ขอให้มีอีเวนท์ใหญ่ๆเถอะ รับมาจัดหมด


ที่มาวันคริสตมาส  KFC มาได้อย่างไร

        ญี่ปุ่นเป็นเมืองหนึ่งที่วัฒนธรรมป้อบและอนิเมะน่ารักๆแทรกซึมทั่วทุกพื้นที่ มีตั้งแต่งานออกแบบซองขนม กิ้ฟช้อปของเล่น เขาก็มักจะมีการใส่ตัวการ์ตูนงานลายเส้นสวยๆให้เห็นเสมอๆ ตัวการ์ตูนบางตัวโด่งดังขึ้นก็มาจากการที่ผู้สร้างต้องการจะใช้เป็นตัวโปรโมทเมือง ก็ทำมาสคอตน่ารักขึ้นมาสักตัว เจ้าคุมะมง จากจังหวัดคุมาโมโตะ มันโด่งดังซะจนกลายเป็นตัวขับดันเศรษฐกิจ เจ้ามาสคอตตัวนี้แทบจะเข้าไปอยู่ในทุกส่วนของการโปรโมทสินค้าและเป็นหน้าเป็นตาแก่จังหวัดอย่างมาก มันโด่งดังไปทั่วญี่ปุ่น หรือการเอาตัวการ์ตูนในอนิเมะมาโปรโมทเมืองก็มีอยู่ให้เห็นบ่อยๆ 



    ทีนี้กลับมาที่เรื่องราวของไก่ทอด KFC กัน ว่ากันว่าที่มานั้นมาจากการโฆษณาอีกเช่นกัน ไม่รู้ไปไงมาไง มัน Success เสียจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชาวญี่ปุ่นไปเลย เราจะย้อนกลับไปในยุคสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กัน  ก่อนหน้านั้นชาวคริสต์เขาก็กินไก่งวงกันตามปกติ มันเริ่มมาจากทหารอเมริกันนั่นแหล่ะที่หิ้วไก่งวงมากินที่ญี่ปุ่นในช่วงคริสมาส ชาวญี่ปุ่นก็เลยนิยมตาม แต่ไก่งวงนั้นไม่ได้จะหาได้ง่ายๆในญี่ปุ่นนะ บ้านเมืองสงบมีการเติบโตอุตสาหกรรม กำเนิดการ์ตูนยุคโชวะ อุลตร้าแมน ไรเดอร์ ก็อดซิลลา เติบโตมาด้วยกัน ผู้คนเริ่มมีฐานะจับจ่ายใช้สอย แล้ววัฒนธรรมอเมริกันน่าจะระบาดมากไม่น้อย ไก่ทอดเป็นที่นิยม ร้าน KFC ก็แห่กันมาเปิดมากขึ้น จนในปี 1970 KFC สาขาแรกก็เปิดที่จังหวัด  นาโกยา  และร้านได้ออกแคมเปญตัวหนึ่งที่น่าจดจำนั่นคือ แคมเปญโฆษณา “クリスマスにはケンタキー (คริสต์มาสก็ต้อง KFC)”  และใช้แท็กที่ติดใจผู้คนว่า "Kentucky for Christmas" ซึ่งมันลงตัวกับชือ KFC เป๊ะเป๊ะ และเริ่มขายถังไก่ปาร์ตี้ KFC ตอนนั้น



        ตอนนั้นยอดขายไก่ก็ไม่ได้สู้ดีนัก คุณโอคาวาระผู้จัดการสาขาได้ก็ได้คิดไอเดียการจัด KFC ในช่วงวันคริสมาส โดยในช่วงนั้นทางโรงเรียนอนุบาลใกล้ๆ ก็อยากจะได้ไก่ทอดไปจัดเลี้ยงกันในวันคริสมาส ก็เข้าทางพอดี คุณโอคาวาระก็เอาไก่ทอดไปให้และคอสเพลย์เป็นผู้พันให้กลายเป็น ซานต้าซะเลย แล้วซานต้าผู้พันก็ออกโชว์ตัวในโรงเรียน ความที่สีแดงเป็นสีหลักของ KFC และหน้าตาของผู้พันเข้ากันได้อย่างลงตัว คุณโอคาวาระ ก็เริ่มนำไอเดียนี้มาสานต่อ เปลี่ยนผู้พันให้กลายเป็น ซานตาคลอส  และโฆษณาไก่ทอดว่าเป็นอาหารช่วงคริสต์มาสในวัฒนธรรมของชาวตะวันตกแทนไก่งวง        


        ก่อนหน้าที่ KFC ยังไม่ดัง ชาวญี่ปุ่นก็ชอบที่จะซื้อไก่กลับไปกินที่บ้านกันอยู่แล้ว เขาก็ซื้อไก่ย่างธรรมดาไปกินกันแทน ก็อาจจะมาจากไม่ชอบไก่งวงเท่าไหร่ด้วยอีกทั้งยังแพง ก็ด้วยกระแสถังผู้พัน ที่โหมลงโฆษณามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ความฮิตไม่ได้เกิดในชั่วข้ามคืน KFC มีแคมเปญดึงดูดให้คนเข้าร้านมาอย่างต่อเนื่อง มีเมนูจัดถังให้เหมาะสมกับเมนูช่วงคริสมาส เพิ่มเซ็ตอาหาร มีไวน์ มีเค้ก (ทำไมบ้านเราไม่เห็นมีบ้าง!!) จนมันกลายเป็นอาหารครอบครัว ที่คนในบ้านจะต้องซื้อถังเซ็ตไก่ทอดไปนั่งล้อมวงกินกันในช่วงคริสตมาส และก็นั่งดูทีวีในคืนคริสตมาสปาร์ตี้ด้วยกัน ในบรรยากาศที่แสนอบอุ่น พอจะเห็นภาพมั้ย แม้แต่คนอยู่บ้านคนเดียวเหงาๆ ก็ยังชอบซื้อถังผู้พันไปกินเช่นกัน ทำให้มื้อเย็นวันคริสมาสของชาวญี่ปุ่นเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนที่ใดเลย


    นับจนถึงตอนนี้ความขลังของ"Kentucky for Christmas" ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง พ่อแม่ซื้อไก่กลับบ้านเพื่อกลับไปฉลองกับคนที่บ้าน ที่เฝ้ารอกินไก่ในช่วงคืนคริสมาส คนที่ตั้งใจจะซื้อ KFC โดยเฉพาะอาจจะต้องสั่งจองล่วงหน้ากันเป็นสัปดาห์ ไม่งั้นก็ต้องไปยืนต่อคิวหน้าร้าน ท่ามกลางอากาศเย็นจัดหน้าหนาวกันหลายชั่วโมง ยืนกันไข่สั่นเลยทีเดียว แล้วผู้ชมล่ะฉลองค่ำคืนปีใหม่กันที่ไหน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้