Funny game for your mobile

Avartar 2 The Way Of Water สิ่งที่แตกต่างจากหนังทุกเรื่อง


HFR

High Frame Rate

อะไรคือ High Frame Rate 

    เมื่อเราชมภาพยนตร์ ภาพที่รันอย่างนุ่มนวลจนเกิดภาพติดตานั้นสร้างจากภาพ 1 ภาพฉายด้วยความเร็วอย่างต่ำ 16 ภาพต่อวินาที ในขณะที่โรงภาพยนตร์ทั่วไปฉายด้วยระบบ 24 ภาพต่อวินาที (FPS) การสร้างระบบที่ใหม่และมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าจึงเอามากำหนดใช้ โดยเพิ่มจำนวน FrameRate ให้มากขึ้น 2 เท่า และให้ชื่อว่า HFR ทั้งนี้การฉายภาพด้วยความละเอียดระดับนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก ยังมีผู้กำกับ Peter Jackson ได้พยายามผลักดันการถ่ายหนังที่มีประสิทธิภาพสูงและได้ทำขึ้นสำเร็จแล้วจากภาพยนตร์ Peter Jackson's The Hobbit ในปี 2012 สำหรับในวงการ 3D ปัจจุบันแล้ว FrameRate  ระดับนี้อาจเป็นเรื่องธรรมดา เพราะทุกวันนี้เราเล่นเกมขั้นต่ำที่ภาพนุ่มนวล 30 ไปจนถึง 60 FPS กันไปแล้วโดยใช้ระบบ Render Engine Unreal 4หรือUnreal 5 ที่ออกแบบมาใช้กับระบบเกม แต่ในระบบภาพยนตร์นั้น Visual Effect ที่เหมือนจริงและระบบสร้างภาพที่ซับซ้อนมากรวมทั้งต้นทุนทำให้ระบบการถ่ายภาพยนตร์ใช้ 24 FPS เป็นมาตรฐานการผลิต ส่วนระบบทีวีใช้มากกว่านี้ราวๆ  29.97 FPS แต่ขนาดภาพที่สร้างเล็กกว่ามาก



Motion Capture

Underwater

        การใช้ Motion Capture มีมานานแล้วในโลกภาพยนตร์ และเรียกได้ว่า Avartar ภาคแรกเป็นต้นตำหรับนำ Motion Capture มาใช้เลยก็ว่าได้
อะไรคือ Motion Capture



    เทคโนโลยีที่ใช้การกำหนด  Marker ลงไปในชุดหรือหุ่นเพื่อจำลองการเคลื่อนไหวแล้วใช้ Technology CGI Render ทับลงไปเพื่อให้สมจริงโดยจะสร้างหุ่นโมเดลเป็นอะไรก็ได้ที่ยากที่จะนำหุ่นกระบอกหรือหุ่นยนต์มาใช้ถ่ายทำ โดยในสมัยก่อนใช้หุ่นกระบอกมาเคลื่อนไหวแล้วถ่ายทีละเฟรมเรียกว่า Stop Motion แต่ภาพที่ได้นั้นจะกระตุก หรือใช้หุ่นมาสร้างแล้วบังคับด้วยวิทยุ ยกตัวอย่างเช่นไดโนเสาร์จากเรื่อง Jurassic Park บางซีน



    การสร้าง Motion Capture ใต้น้ำถือเป็นครั้งแรกในระบบการถ่ายภาพยนตร์ เพราะใต้น้ำยากที่จะถ่ายภาพให้ได้คมชัดแถมยังยากที่จะเอาคนลงไปกลั้นหายใจในน้ำเป็นเวลานานๆได้ การเคลื่อนไหวในน้ำมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่มีเรื่องราวที่ต้องแสดงในน้ำอย่าง Scene ของชาว Atlantean ในภาพยนตร์ Aquaman ที่กำกับโดย James Wan นั้นใช้การถ่ายทำบนบกและใส่ระบบภาพให้มองเห็นว่า เป็นมนุษย์ที่อยู่ใต้น้ำ แต่ Avartar 2 The Way Of Water สร้างระบบเคลื่อนไหวใต้น้ำได้ด้วยการถ่ายทำในน้ำจริงๆ ผู้แสดงสวมชุด Motion Capture ลงไปเล่นอุปกรณ์ดำน้ำ ขี่อุปกรณ์เคลื่อนที่ และยังต้องกลั้นหายใจให้มากที่สุดในบางฉากเพื่อสร้างความรู้สึกเหมือนได้ลงไปอยู่ในโลกใต้น้ำจริงๆ นักแสดงจึงต้องว่ายน้ำได้เก่งเหมือนชาว Navi ในภาพยนตร์ อย่างฉากที่นักแสดง Kate Winslet 1 ในนักแสดงเรื่อง Avartar ต้องหัดกลั้นหายใจให้นาน จนเป็นนักแสดงที่กลั้นหายใจในน้ำได้นานที่สุดกว่า 7 นาที 15 วินาที มากกว่าเรื่องที่ Tom Cruis เคยทำไว้ในเรื่อง Mission Impossible (6 นาที)เสียอีก และดำได้นานที่สุดจนบันทึกเป็นสถิติ เรียกได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ใส่ใจในความเหมือนจริงแม้ว่าจะเป็นภาพยนตร์แฟนตาซีเหมือน Aquaman ก็ตาม



virtual reality

        อีกหนึ่งสิ่งที่สร้างการถ่ายทำแบบใหม่ที่ใช้ใน Avartar2 ยังไม่มีภาพยนตร์เรื่องไหนที่สร้างโลกเสมือนจริงในลักษณะที่สมจริงในแบบที่ James Cameron สร้าง ซึ่งเขากล่าวว่า เขาต้องการทำภาพยนตร์ให้เป็น True Hybrid ถ่ายทำเสมือนอยู่ในโลกจำลองที่มีตัวละคร Computer Graphic อยู่ในโลกสภาพแวดล้อม Computer Graphic จุดประสงค์ก็เพื่อทำให้ผู้ชมไม่สับสนเมื่อดูตัวละครเหล่านั้นกำลังจับตามองไปที่ไหนในฉากได้อย่างถูกต้อง
        ในการถ่ายทำร่วมกับ    Glenn Derry virtual-production supervisor ของ Weta Digital และกลุ่มได้สร้างกล้อง Virtual Reality หรือกล้องโลกเสมือนจริงเพื่อทำให้ James Cameron ได้เห็นว่านักแสดงมีรีแอคกับฉากอย่างไรใน Realtime กล้องตัวนี้ไม่มีเลนส์ มีแค่จอภาพสกรีน LCD และจุดมาคเกอร์ ที่ระบุตำแหน่งของนักแสดง และถ่ายในระบบ 360 องศา เพื่อระบุตำแหน่งที่จะแสดงให้เห็นได้อย่างแม่นยำ
ส่วนที่เหลือจะถ่ายร่วมกับระบบ Motion Capture ที่นักแสดงจะใส่ชุดที่มีจุด Marker ที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวได้ด้วยแสง Infrared เพื่อระบุตำแหน่ง จะมีกล้องทั้งสิ้น 120 ตัววางไว้รอบๆ ฉากที่เซ็ตไว้ เพื่อจับถาพทุกอริยาบทการเคลื่อนไหวทั้งหมดของนักแสดง 
โดยรวมๆแล้วมีนักแสดงกว่า 800 คน 1800 Shot ที่ได้ใส่ Vissual Effect ในการถ่ายทำนี้ James Cameron และทีม สร้างฉาก Motion Capture ที่ใหญ่กว่า 6 เท่า ใหญ่กว่าทุกฉากที่ Weta Digital เคยทำมา

Camera Rigged

ระบบกล้อง 3 มิติ


นอกจากนั้น James Cameleon ยังนำเอาระบบ Camera Rig มาใช้ในการถ่ายทำ 3D อันเป็นวิธีการถ่ายทำอันแปลกใหม่ โดยกล้องที่ใช้นั้นคือ  Sony VENICE  มาใช้ในกระบวนการ 3D stereoscopic beam spitter system (กระบวนการถ่ายทำภาพ 3 มิติแบบแยกลำแสง) ระบบที่ว่านี้เรียก Sony CineAlta VENICE 3D 

        การ Rigs 3D camera โดยจุดประสงค์ของการแบ่งลำแสงโดยใช้กล้อง 2 กล้องก็เพื่อถ่ายภาพให้แก่ตาข้างซ้ายและขวาอย่างละกล้องเพื่อทำระบบภาพ 3 มิติจากนั้นจึงถ่ายลงบน Screen เพื่อสร้างการรับรู้มิติในระบบภาพยนตร์ ในการถ่ายทำนั้นใช้ระยะการสะท้อนแสงจากกระจกเงาในระยะทางที่เหมาะสมมาทำให้เกิดระบบ 3 มิติ โดบภาพที่สะท้อนได้จากกล้องตัวบนจะสะท้อนแสงเป็นมุม 45 องศา จากกล้อง แนวราบที่ถ่ายภาพผ่านกระจกเงา และด้วยการจัดมุมกล้องแบบนี้เราจะได้ระยะตื้นลึกในระบบ 3 มิติ และนี่เป็นระบบที่ James cameleon ใช้ในเรื่อง Avartar


        ในการถ่ายทำ Avartar ได้ใช้ระบบแยกลำแสงที่พิเศษที่พัฒนามาจากกล้องแบบพกพา ที่หนักราวๆ 17 กก. หรือ 371 Lb รวมทั้งชุดแกนหมุน 12 องศาในภาพยนตร์นั้น James cameleon สร้างมันขึ้นมาเองเพื่อใช้ในบางฉากและในฉากใต้น้ำ ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าแปลกไม่น้อยที่ไม่เกิดแสงหักเหในการถ่ายใต้น้ำ ผลที่ได้นั้นก็ดีเทียบเท่ากับกล้อง 6K 3D UnderWater ระบบที่พัฒนาโดย invented  Pawel Achtel



        แม้หนังเรื่อง Avartar 2  จะมุ่งเน้นภาพยนตร์ระบบ IMAX3D  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วระบบรับชม 3D ก็ไม่ได้ดังเปรี้ยงปร้างหรือเป็นที่นิยมในวงกว้างขนาดนั้น มันเป็นระบบที่พัฒนามาได้หลายปีแล้วเมื่อแนวโน้มภาพแบบ 3 มิติค่อนข้างสูง ความนิยมนี้จะโดนใจผู้ชมในกลุ่มที่อยากดูภาพยนตร์ 3 มิติที่ไม่ต้องการใส่แว่นในขณะชมภาพยนตร์ จากการที่ภาพโดนลดความสว่างลงไปขณะใส่ อย่างไรก็ดีภาพยนตร์เรื่อง Avartar 2 The Way Of Water ก็ได้เข้าใกล้ประสบการณ์นี้ไปอีกขั้น





                                            Water Scene

Tank น้ำ 900,000 Gallon

James Cameleon ได้สร้างโรงถ่ายขนาดใหญ่ สร้างโรงถ่ายใต้น้ำขนาด 900,000 Gallon เพื่อใช้ถ่ายฉากบางฉากในน้ำเพื่อสร้างฉากมหาสมุทรจำลองให้สมจริงที่สุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการถ่ายทำ Motion Capture ชาวนาวีขณะดำน้ำ ให้ได้การเคลื่อนไหวสมจริงในน้ำ จากนั้นจึงใส่ CG ลงไป




Emotion Capture

Facial  Expression

        ระบบใหม่ทีได้ใส่ไปในการทำหน้าของ Avartar  ทำได้ละเอียดกว่าที่เคย โดยระบบการถ่ายทำหน้าเพื่อที่ใส่ในระบบ CG นั้นจะถ่ายจากนักแสดงจริงๆโดยใส่จุด Marker เข้าไปที่จุดสำคัญบนใบหน้าเพื่อระบุตำแหน่ง แล้วจึงใส่ CG Character นั้นทับลงไป ซึ่งในเรื่อง Avartar นั้นนักแสดงจะสวมหมวกที่มีกล้องจับตรงไปยังใบหน้าของแต่ละคน อันเป็นการสร้างอิสระทีใบหน้าได้มากกว่าวิธีเก่า 

    James Cameleon เล่าว่า"วิธีการนี้นั้นได้ลดเวลาเป็นชั่วโมงในการแต่งหน้าและช่วงเวลาที่ไม่ค่อยสะดวกสบายสำหรับนักแสดง" ก่อนหน้านั้น นักแสดงต้องใส่จุด Marker เล็กๆติดกาวทั่วหน้า และมันทำให้จับใบหน้าไม่ได้เลยในช่วงเวลานั้น แต่ด้วยวิธีการใหม่ ทดเวลาไปมากในการถ่าย จากนั้นระบบจะเอาไปจับคู่กับ Software ที่สร้างโดย Weta Digital และสร้างระบบแสดงสีหน้าออกมา



IMAX Picture System

26% More space

        แน่นอนว่าระบบภาพแต่ละขนาดถูกนำไปใช้ในโรงภาพยนตร์ไม่เหมือนกัน โดยผู้ชมจะได้ชมภาพระดับ 4 K เป็นพื้นฐานแต่จะมีขนาดและความคมชัดต่างกันไปตามระบบกล้อง Projector อย่างโรงถ่ายระบบ Laser ก็มีความคมชัดเป็นที่สุด หรือภาพเต็มตาก็ต้องไปดูที่โรงระบบ IMAX ซึ่งคุณจะได้รับชมภาพในขนาดที่มากกว่าใคร 26 %  ในภาพยนตร์ทั่วไปเราจะได้รับชมในสัดส่วน 2.39:1 นั่นหมายความว่า สัดส่วนในการดูหนังส่วนกว้างคือ 2.39 เท่าเมื่อเทียบกับความสูง ส่วน IMAX หรือ Maximun Image นั้ เราได้ดูภาพมากขึ้นไปอีกถึง 26 % นั่นก็หมายถึงว่าเราจะได้เห็นทุกส่วนที่หนังมีมากกว่าดูจากจอทั่วๆไป สัดส่วนที่ใช้กันใน IMAX คือ 1.43:1 เป็นหลักหรือ 1.90:1 (ขึ้นอยู่กับ Projector) สัดส่วนการดูหนังนี้ทำให้เราได้ประสบการณ์ที่แตกต่างกว่าใคร จากที่ไม่ได้เห็นน่องขาอ่อนพระเอก เราจะได้เห็นใน IMAX แบบเต็มตา

         ภาพยนตร์ AVATAR 2  ภ่ายในระบบ IMAX และได้ถูกรับรองว่าผ่านระบบที่รับรองไว้หรือ Certified  filmed for IMAX  Program ด้วยกล้อง Sony Venice3D เราจะได้เห็นภาพใต้น้ำขนาดใหญ่ ที่คมชัดที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้