Funny game for your mobile

เยือนปราสาทบรานดินแดนบ้านเกิดเคาท์แดร็กคูล่า


        คงไม่มีใครไม่รู้จักตำนานของ เคาท์แดร็กคูล่า (Count Dracula) ที่เล่าขานกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งเรื่องราวที่เหมือนจะได้รับความนิยมมากที่สุดก็เป็นของ Bram Stoker นักเขียนชาวไอริชที่บอกเล่าเรื่องราวของแดร็กคูล่าโดยหยิบยกเอา ปราสาทบราน (Bran Castle) เป็นสถานที่หลักของเรื่อง
 

 
        ปราสาทบราน (Bran Castle) สร้างขึ้นในปี คศ.1212 โดยอัศวินชาวเยอรมัน เป็นปราสาทของเจ้าผู้ครองแคว้นทรานซิลวาเนีย อายุเก่าแก่กว่า 600 ปี ตัวปราสาทตั้งอยู่บนหน้าผาสูงใกล้เมือง Brasov เพื่อใช้เป็นป้อมปราการที่ป้องกันการรุกรานจากข้าศึก (พวกเติร์กแห่งอาณาจักรออตโตมาน) ซึ่งขณะนั้น โรมาเนียแบ่งเป็นแคว้นทรานซิลวาเนีย กับวัลลาเชีย มีเจ้าชายผู้กล้าคนหนึ่ง คือ เจ้าชายวลาด เทเปส (Vlad Tepes) ปฏิบัติการรุกรบต่อต้านการโจมตีของพวกเติร์กอย่างแข็งขัน จนเป็นที่เลื่องลือในความเก่งกล้า บ้าบิ่น และเหี้ยมโหดต่อศัตรูผู้รุกราน จนเป็นเจ้าของตำนานความโหดเหี้ยมดังกล่าว จนพระองค์ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรวัลลาเชีย (ปราสาทบราน ตั้งอยู่ระหว่าง แคว้นวัลลาเชีย และ แคว้นทรานซิลวาเนีย ที่ปัจจุบันคือประเทศโรมาเนีย) ความโหดเหี้ยมกลายเป็นที่เลื่องลือ บ้างก็เล่าต่อๆ กันไปว่า เจ้าชายดื่มเลือดจากศัตรูด้วย!
    จากนั้นราว 400 ปีถัดมา เมื่อนักเขียนชาวไอริช ‘บราม สโตเกอร์’ อ่านประวัติของเจ้าชายวลาด จึงนำมาแต่งเติมใส่จินตนาการของตนเอง ดัดแปลงจนกลายเป็นนวนิยายสยองขวัญ Dracula ในปี 1897 และให้ปราสาท "บราน"เป็นรังของผีดูดเลือด ที่อยู่ของท่านเคานท์ นั่นจึงทำให้ปราสาท "บราน" กลายเป็นสุดยอดแหล่งท่องเที่ยวประจำประเทศโรมาเนียไปในที่สุด แม้ในช่วงแรก อาจจะมีชาวโรมาเนียนบางคนไม่พอใจที่ดันไปเอาประวัติวีรบุรุษนักรบไปทำจนเข้าใจว่า ผีดูดเลือดมีอยู่จริงและมีต้นกำเนิด ที่ประสาทบราน แต่เมื่อที่นี่นั้นต่อมาก็ได้กลายมาเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากมาย แบบนี้คงยากที่จะไปต่อต้านซะแล้ว




        แม้หน้าตาที่แท้จริง อาจจะไม่ได้น่ากลัวเป็นปราสาทผีดูดเลือดอย่าที่ใครหลายคนจินตนาการไว้ เพราะปราสาทผีดูดเลือดถูกนำไปถ่ายทอดเป็นทั้งหนังและเกมอย่างแพร่หลาย 

        ปัจจุบัน มีการบูรณะปราสาทนี้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ และเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ทำเงินอย่างมหาศาลให้ประเทศโรมาเนีย


ประวัติเจ้าชาย วลาด ผู้ได้รับฉายา วลาดจอมเสียบ
 (Vlad the Impaler) 



        พระองค์เป็นบุตรของ 'วลาด ดรากูล ที่ 2' (Vlad II Dracul) แห่งวาลาเคีย (1431-1477) "วลาด แดรคูล" แปลว่า "วลาด เจ้ามังกรผยองเดช" เพราะพระบิดาของเจ้าชายวลาดนั้น ได้รับการแต่งตั้งจากพระจักรพรรดิซิกิสมุนด์แห่งนูเรมเบิร์ก ให้เป็น "อัศวินมังกร" (Knight of Dragon's Order) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตกทอดถึงทายาทด้วย เมื่อเจ้าชายวลาดขึ้นครองวาลาเคีย และยังเป็นเจ้าชายนักรบผู้กล้า อันมาจากสมาคมมังกร (Order of Dragon) ซึ่งเป็นสมาคมที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อพิทักษ์และปกป้องศาสนาคริสต์จากพวกเติร์ก (อิสลาม) 

     ผู้คนจึงเรียกเขาอย่างภูมิใจว่า "วลาด แดรโค" (Vlad Draco) เพราะ "แดรโค" เป็นภาษาละตินแปลว่า "Dragon" หรือมังกรนั่นเอง ภายหลังจึงเพี้ยนเสียงเป็น "วลาด แดรคูล" (Vlad Dracul) 

      เจ้าชายวลาดแห่งแคว้นวาลาเคีย เป็นทั้งนักรบและนักปกครองที่เก่งกาจครอบครอง วลาเคียอยู่ในช่วง 1456-1462 อันเป็นช่วงที่พวกออตโตมันเริ่มพิชิตดินแดนคาบสมุทรบอลข่าน 
  เจ้าชายวลาดเป็นที่เคารพในฐานะวีรบุรุษที่ปกป้องบ้านเมืองจากผู้รุกราน แต่ก็มีความโหดเหี้ยมอยู่ภายในตัว พระองค์เกิดและใช้ชีวิตทั้งหมดอยู่ในช่วงสงคราม ในช่วงนั้นโรมาเนียจะต้องต่อสู้เพื่อต่อต้านการโจมตีของพวกเติร์กที่เข้ามารุกราน ทำให้เจ้าชายวลาดต้องทำศึกสงครามอยู่บ่อยครั้ง พระองค์เป็นที่เลื่องลือในฝีมือการรบมากๆ รวมไปถึงความกล้าบ้าบิ่น และความโหดเหี้ยมอีกด้วย



       ที่มาของ วลาดจอมเสียบ  (Vlad the Impaler) 
 ทุกครั้งเวลาไปออกรบแล้วได้ตัวเชลยกลับมา พระองค์จะเอาเชลยพวกนั้นเสียบไม้แบบทะลุร่างตั้งแต่รูทวารทะลุไปถึงปากเลย ซึ่งเป็นการเสียบประจานเอาไว้เพื่อให้นกกามาจิกทึ้งร่างจนเสียชีวิตไปเองในที่สุด โดยพระองค์มีความเชื่อว่าเป็นการข่มขวัญให้พวกศัตรูเกรงกลัวต่ออำนาจของพระองค์นั่นเอง หลังจากเสียชีวิตไปแล้วจึงได้ฉายานี้มา


        แน่นอนว่าความโหดร้ายของพระองค์นั้นได้แพร่หลายออกไปสู่สาธารณะชน จนได้ฉายาว่า 'เจ้าชายผู้กระหายเลือด' บ้างก็บอกว่าท่านดื่มเลือดของพวกศัตรู  นอกจากนี้พระองค์ยังชอบทานอาหารท่ามกลางบรรยากาศของเชลยที่ถูกเสียบประจานไว้อีกด้วย  และด้วยความโหดร้ายของพระองค์นี้จึงเป็นที่มาให้นักเขียนนิยายอย่าง 'บราม สโตกเกอร์' นำเจ้าชายวลาดมาเป็นแรงบันดาลใจในการแต่งนิยายเรื่องเคาท์แดร็กคูล่าของเค้านั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้